Lecture

กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
• Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)
1.
รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2.
เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ
3.
ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง
สิ่งที่ได้รับ
1.
เป้าหมายหลักของเว็บ
2.
ความต้องการของผู้ใช้
3.
กลยุทธ์ในการแข่งขัน

• Phase 2 :
พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4.
สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5.
หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
สิ่งที่ได้รับ
1. แนวทางการออกแบบเว็บ
2.
ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน
3.
ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ

• Phase 3 :
พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)
6.
จัดระบบข้อมูล
7.
จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8.
พัฒนาระบบเนวิเกชัน
สิ่งที่ได้รับ
1.
แนวทางการออกแบบเว็บ
2.
ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน
3.
ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ

• Phase 4 :
ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)
9.
ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10.
พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย
สิ่งที่ได้รับ
1.
ลักษณะหน้าตาของเว็บ
2.
เว็บต้นแบบที่จะใช้ในการพัฒนา
3.
รูปแบบโครงสร้างของเว็บ
4.
ข้อกำหนดในการพัฒนาเว็บ

• Phase 5 :
พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
11.
ลงมือพัฒนาเว็บ
12.
เปิดเว็บไซท์
13.
ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
สิ่งที่ได้รับ
1.
เว็บที่สมบูรณ์
2.
เปิดตัวเว็บและทำให้เป็นที่รู้จัก
3.
แนวทางการดูแลและพัฒนาต่อไป
*************************************************************************

 

ออกแบบเพื่อผู้ใช้ (Design for Users)
1. ออกแบบเพื่อผู้ใช้ (Design for Users)กระบวนการแรกของการออกแบบ เว็บไซต์คือการกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์กำหนดกลุ่มผู้ใช้ ซึ่งการจะให้ได้มาซึ่งข้อมูล ผู้พัฒนาต้องเรียนรู้ผู้ใช้ หรือจำลองสถานการณ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถออกแบบเนื้อหาและการใช้งานเว็บไซต์ได้อย่าง เหมาะสม ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง

1.1
กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์
ขั้น ตอนแรกของการออกแบบเว็บไซต์ คือการกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ให้แน่ชัดเสียก่อน เพื่อจะได้ออกแบบการใช้งานได้ตรงกับเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่าการทำเว็บไซต์มีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการข้อมูลของ หน่วยงานหรือองค์กรเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เว็บไซต์แต่ละแห่งก็จะมีเป้าหมายของตนเองแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างของเป้าหมายเว็บไซต์ทางธุรกิจ ได้แก่
-
สร้างความเชื่อถือให้กับบริษัท
-
ให้บริการข้อมูลของสินค้าหรือบริการ
-
สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง
-
ช่วยสื่อความหมายสำคัญของผลิตภัณฑ์
-
สำรวจความต้องการของลูกค้า
-
กระตุ้นยอดขาย
-
เป็นแหล่งบริการข้อมูลที่เข้าถึงได้ตลอดเวลา
-
ช่วยในการเลือกสรรพนักงานใหม่
-
ส่งข่าวสารถึงลูกค้าและผู้สนใจอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก

1.2
กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
ผู้ ออกแบบเว็บไซต์จำเป็นต้องทราบกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซ ต์ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ที่มีกลุ่มผู้ใช้หลากหลาย เช่น เซิร์ชเอ็นจิน เว็บท่า และเว็บไดเรกทอรี่ แต่เว็บไซต์ส่วนใหญ่นั้นจะตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ไม่สำหรับทุกคน เพราะคุณไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนที่หลากหลายได้ในเว็บไซต์เดียว
การกำหนดประเภทของกลุ่มเป้าหมาย มีลักษณะใหญ่ ๆ คือ
-
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ขายเสื้อผ้า อาจจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง แต่สินค้าที่นำมาจำหน่ายอาจเป็นสินค้าที่มียี่ห้อและราคาแพงจึงกำหนดกลุ่ม ผู้ใช้ที่เป็นผู้หญิงและมีฐานะทางการเงินที่ดี เป็นต้น
-
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลาย ๆ กลุ่ม ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของร้านขายของเล่น ซึ่งอาจจะมองว่ากลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาเป็นเด็ก ทั้งที่จริงแล้วผู้ใช้บริการอาจจะเป็นพ่อแม่ที่มาหาของเล่นให้ลูก หรือหนุ่มสาวที่เข้ามาซื้อของขวัญ หรือครูอาจารย์เข้ามาเลือกสินค้าเพื่อนำไปใช้ในห้องเรียน ซึ่งจุดนี้ผู้ออกแบบเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม

1.3
สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากเว็บ
หลัง จากที่ได้เป้าหมายและกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์แล้ว ลำดับต่อไปคือการออกแบบเว็บไซต์เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานให้ได้นานที่สุด ด้วยการสร้างสิ่งที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ใช้โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่ผู้ใช้คาดหวังจากการเข้าชมเว็บไซต์หนึ่ง ได้แก่
-
ข้อมูลและการใช้งานที่เป็นประโยชน์
-
ข่าวและข้อมูลที่น่าสนใจ
-
การตอบสนองต่อผู้ใช้
-
ความบันเทิง
-
ของฟรี
การนำเสนอข้อมูลสินค้าที่ทำให้น่าสนใจ ด้วยการแสดงข้อมูลสินค้าในหลาย ๆ รูปแบบ ที่ผู้ใช้สามารถเลือกการแสดงข้อมูลได้ด้วยตนเอง

1.4
ข้อมูลหลักที่ควรมีอยู่ในเว็บไซต์
เมื่อ เราทราบถึงความต้องการที่ผู้ใช้ต้องการได้รับเมื่อเข้าชมเว็บไซต์หนึ่ง ๆ แล้ว เราก็ออกแบบเว็บไซต์ให้มีข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คาดหวังจะได้รับเมื่อเข้าไปชมเว็บไซต์
-
ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
-
รายละเอียดของผลิตภัณฑ์
-
ข่าวความคืบหน้าและข่าวจากสื่อมวลชน
-
คำถามยอดนิยม
-
ข้อมูลในการติดต่อ

*************************************************************************

ออกแบบระบบเนวิเกชัน
ความสำคัญของระบบเนวิเกชัน
ความสำคัญแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น  ส่วนระบบเนวิเกชันเป็นส่วนเสริมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สื่อความหมายเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัวโดยไม่หลงทาง  โดยทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน  ได้ผ่านที่ใดมาบ้างและควรจะไปทางไหนต่อ

                รูปแบบของระบบเนวิเกชันแบ่งออกเป็น  4 รูปแบบ

1.ระบบเนวิเกชันแบบลำดับขั้น  Hierarcical
                เป็นระบบพื้นฐานคือมีหน้าโฮมเพจหนึ่งหน้าและมีลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ ภายในเว็บถือเป็นแบบลำดับขั้นอย่างหนึ่งแล้ว  แต่มีข้อจำกัดคือเคลื่อนที่ได้เฉพาะแนวตั้ง  บน-ล่าง

2.ระบบเนวิเกชันแบบโกลบอล  Global
                หรือเรียกว่าแบบตลอดทั่วทั้งไซท์  เป็นระบบที่ช่วยเสริมข้อจำกัดของระบบเนวิเกชันแบบลำดับขั้น  ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอนอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งไซท์

3.ระบบเนวิเกชันแบบโลคอล  Local
                สำหรับเว็บที่มีความซับซ้อนมากอาจต้องใช้ระบบแบบโลคอลหรือแบบเฉพาะส่วนเข้ามาช่วยเมื่อมีบางส่วนที่ต้องการระบบเนวิเกชันที่มีลักษณะเฉพาะตัว

4.ระบบเนวิเกชันเฉพาะที่  Ad-Hoc
                เป็นแบบเฉพาะที่ตามจำเป็รของเนื้อหาซึ่งก็คือลิงค์ของคำหรือข้อความที่หน้าสนใจซึ่งฝังอยู่ในประโยค ที่เชื่อมโยงไปยังรายละเอียดเกี่ยวกับคำนั้นๆเพิ่มเติม  เนวิเกชันรูปแบบนี้เป็นวิธีที่ดีในการนำเสนอจุดเด่นที่น่าสนใจได้อย่างไม่เด่นชัดจนเกินไป

องค์ประกอบของระบบเนวิเกชันหลักวิเกชันบาร์
ระบบเนวิเกชันเป็นพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบ  ทั้งแบบลำดับขั้น  แบบโกบอล  และแบบโลคอล  โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่างๆที่อยู่รวมกันในบริเวฯหนึ่งของหน้าเว็บ  อาจเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิก

                เนวิเกชันบาร์แบบเฟรม
คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้สามารถแสดงเว็บหลายๆ หน้าในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน  โดยแต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน  การลิงค์เฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผลของข้อมูลอีกเฟรมหนึ่งได้  ส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ  ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดูข้อมูลใดๆในอีกเฟรมหนึ่ง  การแยกระบบเนวิเกชันแบบนี้ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้ตลอดเวลาและยังคงความสม่ำเสมอทั่วทั้งไซท์

        Pull  Down  Menu
เป็นส่วนประกอบของฟอร์มที่มีลักษณะเด่นคือ  มีรายการให้เลือกมายมายแต่ใช้พื้นที่น้อยเมื่อเทียบองค์ประกอบชนิดอื่นๆ วิธีนี้  จะช่วยให้ผู้ใช้เลือกรายการย่อยเข้าไปสู้เป้าหมายได้อย่างสะดวก

Pop   up  Menu
                เป็นเมนูอีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะคล้าย  Pull  Down  Menu  แต่รายการย่อยของเมนูจะปรากฏขึ้นเองเมื่อผู้ใช้นำเมาส์ไปวางเหนือตำแหน่งของรายการในเมนูหลัก   จากนั้นผู้ใช้ก็สามารถเลื่อนเมาส์ไปเลือกรายการต่างๆที่ปรากฏขึ้นได้

Image  Map
                การใช้รูปกราฟิกเป็นลิงค์ในแบบ  Image  Map  ได้รับความนิยมนำมาใช้กับระบบเนวิเกชันมากขึ้นโดยบางบริเวณของกราฟิกจะถูกกำหนดให้เป็นลิงค์ไปยังส่วนต่างๆ ตามความต้องการแต่ไม่ควรที่จะใช้เป็นลิงค์ไปยังส่วนต่างๆตามความต้องการ  แต่ไม่ควรที่จะใช้  Image  Map  เป็นระบบเนวิเกชันเดียวในเว็บ  เพราะอาจทำให้ผู้ใช้บางคนที่ไม่รู้ว่ารูปกราฟิกนั้นสามารถคลิกไปยังข้อมูลอื่นได้

Search  Box
                การจัดเตรียมระบบสืบค้นข้อมูล   ภายในเว็บเป็นระบบเนวิเกชันสำหรับเว็บที่มีข้อมูลปริมาณมาก  ทำให้ผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วโดยระบุคีย์เวิร์ดที่สนใจ  เนื่องจากข้อมูลในเว็บ  อาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้อ่าน

*************************************************************************


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS


MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com

> >